การเสวนา หัวข้อ “ วิจัยก้าวไกลสู่นวัตกรรมพัฒนาชาติ ” โดย สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016)

Lastest Modified Tuesday 23 August 2016 , 10:44

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2559  สมาคมนักวิจัย จัดงานครบรอบ 33 ปีสมาคมนักวิจัย 
                              ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งช่าติ2559(Thailand Research Expo 2016)
            สมาคมนักวิจัย จัดงานครบรอบ 33 ปี เสวนา วิจัยก้าวไกลสู่นวัตกรรมพัฒนาชาติ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016) ณ ห้องโลตัส 1-2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยพลอากาศเอกประจิน  จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการเสวนาและปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “วิจัยก้าวไกลสู่นวัตกรรมพัฒนาชาติ” ณ ห้องเวิลด์บอลรูมชั้น 23 และเดินเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัยที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนำมาจัดแสดง ณ ห้องบางกอกค นเวนชันเซนเตอร์ ชั้น 22 โดยมีผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นายกสมาคมนักวิจัยและคณะกรรมการบริหารสมาคมนักวิจัยให้การต้อนรับ
         
           ผศ.ดร.ศักดา  ศิริภัทรโสภณ นายกสมาคมนักวิจัย กล่าวว่า สมาคมนักวิจัย ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2523 โดยศาสตราจารย์ดร.จุมพล สวัสดิยากรเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในขณะนั้นจนครบ 33 ปี ในปีนี้ โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้เป็นสมาคมแห่งการพัฒนานักวิจัยมืออาชีพชั้นนำในระดับภูมิภาค ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 3,000 คน ทั่วประเทศ สมาคมได้จัดงาน 33 ปีสมาคมนักวิจัย ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo2016) โดยจัดนิทรรศการเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ๆที่คูหานิทรรศการ และจัดการเสวนาวิชาการในหัวข้อ วิจัยก้าวไกลสู่นวัตกรรมพัฒนาชาติ มีการเสวนาใน 3 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ นวัตกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร, ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้วยไอเดียสร้างสรรค์ และ หัวข้อ บันไดสู่การพัฒนาธุรกิจแนวใหม่ โดยวิทยากรที่มีชื่อเสียงจากภาครัฐและภาคเอกชน อธิเช่น ศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์พงศ์พิชญามาตย์ กรรมการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท)นายจุมพล เที่ยงธรรม ประธานศูนย์BTACC และผู้บริหารจากภาคเอกชนและตัวแทนบริษัทที่บริหารงานธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ เช่น บริษัท อาทิตย์เวนติเลเตอร์ จำกัด บริษัทเทวาโสภา จำกัด บริษัท สตาร์ สามเณร จำกัด มูลนิธิอาจารย์จำเนียร นายธนาคาร  และผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเสริมความงาม Jeunesse เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากนักวิจัย นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 คน