Menuscript Preparation

คำแนะนำในการส่งรายงานวิจัยหรือบทความวิชาการ
เพื่อตีพิมพ์วารสารสมาคมนักวิจัย

เพื่อให้การตีพิมพ์รายงานวิจัย หรือบทความวิชาการในวารสารสมาคมนักวิจัยเป็นไปโดยเรียบร้อย เป็นวารสารที่ได้มาตรฐานสากลบังเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งผู้ส่งรายงานการวิจัย หรือบทความวิชาการผู้ใช้ประโยชน์ จากผลงานการวิจัย หรือบทความวิชาการเหล่านั้น รวมทั้งสมาคมนักวิจัยในการจัดทำวารสาร สมาคมนักวิจัยได้กำหนดหลักเกณฑ์ตลอดจนคำแนะนำในการส่งรายงานวิจัย หรือบทความวิชาการ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารไว้ ดังนี้


หลักเกณฑ์โดยทั่วไป

1.  เป็นรายงานงานวิจัย หรือบทความวิชาการในด้านสังคมศาสตร์

2.  เป็นรายงานวิจัย หรือบทความวิชาการที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน

3.  ผู้ส่งรายงานวิจัย หรือบทความวิชาการมีค่าใช้จ่าย ดังนี้


ผู้ที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ  4,000  บาท

- จ่ายเมื่อส่งรายงานวิจัย  2,500  บาท

- จ่ายเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในการนำลงตีพิมพ์  1,500  บาท


ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ  4,500  บาท

จ่ายเมื่อส่งรายงานวิจัย  2,500  บาท

จ่ายเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ  2,000  บาท


4. รายงานการวิจัย หรือบทความที่ส่งมาจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสมาคมนักวิจัย  ต่อเมื่อได้ผ่านกระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่สมาคมนักวิจัยแต่งตั้งขึ้น


หมายเหตุ    ให้ผู้เขียนส่งบทความมายังสมาคมนักวิจัย โดยยังไม่ต้องชำระเงินค่าอ่านบทความ เพื่อพิจารณาเบื้องต้น โดยบรรณาธิการ ว่าบทความตรงกับสาขาของวารสารหรือไม่ โดยส่งบทความในระบบการรับบทความในเว็ปไซด์ของสมาคมฯ

คำแนะนำการเขียน และส่งต้นฉบับ

บทความวิจัย

ส่วนนำ ประกอบด้วย

ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเป็นชื่อที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง

ชื่อผู้เขียนทุกท่าน (Authors) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ที่อยู่ สำหรับการติดต่อ E-mail และโทรศัพท์ 

ตัวเลขยก ให้เขียนไว้บนนามสกุลเพื่อระบุว่าเป็นที่อยู่ของผู้เขียนท่านใด

บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้นตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา โดยจัดทำเป็นร้อยแก้ว สรุปสาระสำคัญไว้อย่างครบถ้วนไม่แบ่งเป็นข้อ

คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความที่สามารถนำไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูล ประมาณ 3-5 คำ สำหรับภาษไทยให้เว้นวรรคระหว่างคำสำคัญ ภาษาอังกฤษให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)

ส่วนเนื้อหา

ความสำคัญของปัญหาของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การทบทวนวรรณกรรม และแนวคิด

ขอบเขตของการวิจัย

สมมติฐานการวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัย (ระบุวิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปี พ.ศ. ที่ทำการวิจัย วิธีวิเคราะห์ข้อมูล) 

ผลการวิจัย ควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น โดยอาจมีรูปภาพ ตารางและแผนภูมิประกอบเท่าที่จำเป็น สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณต้องมีตารางสถิติพื้นฐานบังคับที่ต้องนำเสนอตามประเภทของสถิติที่ใช้เช่นตารางแสดงลักษณะประชากรศาสตร์ของตัวอย่าง ตารางที่นำเสนอตีเส้นในแนวนอนที่หัวตารางและเส้นปิดตาราง ไม่ใช้เส้นตั้งภาพและแผนภูมิประกอบต้องมีความคมชัด และตัวหนังสืออยู่ในกรอบไม่ล้นออกมา และไม่มีกรอบล้อมภาพหรือแผนภูมิ

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะสำหรับปฏิบัติ และข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยต่อไป)

เอกสารอ้างอิง ต้องอ้างอิงในระบบ APA ให้ระบุเอกสารอ้างอิงเฉพาะเอกสารที่ใช้อ้างในเนื้อหาเท่านั้น

 บทความที่สรุปมาจากวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ให้ใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมตำแหน่งวิชาการ และสังกัดหลังชื่อผู้นิพนธ์

รูปแบบการพิมพ์บทความ

ต้นฉบับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ใช้แบบอักษร Angsana New ขนาด 16 ตลอดทั้งบทความ พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษ A4 พิมพ์ให้ห่างจากขอบทุกด้าน 2.5 ซม. และใส่เลขกำกับทุกหน้าที่มุมขวาบนของกระดาษทุกหน้า ความยาวต้นฉบับ 12-16 หน้า

ชื่อบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ชื่อผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ที่อยู่ E-mail และโทรศัพท์ ขนาดตัวอักษร 14

ชื่อบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ชื่อคำสำคัญ (Keyword) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 (ตัวหนา) 

คำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14

การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ใช้ระบบนามปี


หลักเกณฑ์การประเมินบทความเพื่อตอบรับตีพิมพ์

กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นถึงความสอดคล้องกับแนวทางตีพิมพ์ผลงานของวารสารหรือไม่ แล้วจะมีหนังสือแจ้งกลับการพิจารณา 

ถ้าบทความมีเนื้อหามีความสอดคล้องกับวารสาร กองบรรณาธิการจะพิจารณาความถูกต้องของรูปแบบการเตรียมข้อมูลต้นฉบับผู้นิพนธ์จะต้องแก้ไขให้ตรงตามรูปแบบที่กำหนด

ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความ เมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไขจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์ และวารสารสมาคมนักวิจัยฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์จำนวน 1 ฉบับ

ในการนี้ วารสารสมาคมนักวิจัยได้เตรียมการที่จะเข้าสู่ ACI ซึ่งจะต้องมีการเพิ่มข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษดังนี้

1titles ชื่อเรื่อง

2 abstracts บทคัดย่อ

3 author names and affiliations ชื่อผู้แต่งและสังกัด

4 cited references เอกสารอ้างอิง

สำหรับ cited references ให้ท่านแยกเอกสารภาษาไทยอยู่ในหัวข้อ เอกสารอ้างอิง และเอกสารภาษาอังกฤษ อยู่ในหัวข้อ References และให้แปลเอกสารภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษโดยใส่วงเล็บว่า (in Thai) และเรียงตามลำดับอักษรอีกครั้ง

ตัวอย่างการอ้างอิง

 

เอกสารอ้างอิง

คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน. 2551. เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. กรุงทพฯ: สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. 2553. การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร: การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: ธิงค์บียอนด์.

...

 

References

Carroll, Archie B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders. Business Horizons. July-August, pp.39-48.

Carroll, Archie B. and Ann K. Buchholtz, (2006), Business and Society (6thed.). USA: Thomson South-Western.

Leech, N. L., Barrett, K. C., & Morgan, G. A. (2005). SPSS for Intermediate Statistics: Use and Interpretation (2nded.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Nonthanathorn, Phiphat.  (2010). Corporate Social Responsibility Management: Creating Sustainable Competitive Advantage. Nonthaburi: Thinkbeyond. (in Thai)

Working Committee of Social and Environment Promotion of Listed Company. (2008). Business Compass for Society. Bangkok: CSRi. (in Thai).

….

download : ใบสมัครสมาชิกสมาคม