วันที่ : 11 May - 16 November 2015
หลักสูตร : หลักสูตรโครงการฝึกอบรมกึ่งปฏิบัติการ การเขียนดุษฎีนิพนธ์ ๑
วิทยากร : รศ.ดร. พลศักดิ์ จิรไกรศิริ, ดร. กรเอก กาญจนาโภคิน, ดร. วิทยา มีเนตรทิพย์, ดร. วัฒนา นนทชิต, ดร. จำรัส อึ้งศรีวงศ์
สถานที่ : โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร
download :
๑.
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันนี้เกือบทุกมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) และหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor) รวมๆ แล้วเกือบ ๑๐๐
หลักสูตร
โดยทุกหลักสูตรทั้งทางสังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
ต่างต้องเปิดสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยระดับสูง เพียงแต่วิชาที่เปิดสอนนั้น เน้นหนักทางภาคทฤษฎี ทำให้เกิดปัญหาการทำวิจัยที่ต้องอาศัยการปฏิบัติการในระดับประสบการณ์จริงในภาคสนาม อีกประการหนึ่ง
บรรดาอาจารย์ที่บรรยายวิชาระเบียบวิธีวิจัยก็มักไม่ค่อยทำวิจัย ทำให้ขาดทักษะทางการวิจัย ที่จะถ่ายทอดในเชิงประสบการณ์ของการวิจัยจริงๆ โดยเฉพาะโครงการวิจัยขนาดใหญ่ ซึ่งมีงบประมาณตั้งแต่ ๑๐
ล้านบาทขึ้นไป
ด้วยเหตุนี้นักศึกษาปริญญาเอกจึงตกที่นั่งลำบาก ต้องคลำหาทางกันเอาเองตามมีตามเกิด แล้วเปรียบเทียบการทำวิจัยระดับปริญญาเอกว่า เหมือนคนเดินอยู่ในถ้ำมืด ต้องคลำหาทางออกจากถ้ำให้ได้ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่ไร้สาระแก่นสารแห่งความเป็นจริง แท้ที่จริงแล้ว ปัญหามาจากผู้ที่ทำวิจัย มักไม่มีโอกาสสอนระเบียบวิธีวิจัย ส่วนผู้ที่สอนวิชานี้ ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ค่อยทำวิจัย
ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นวงจรแห่งเวทนาที่มีหนทางที่จะเยียวยารักษาได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโครงการฝึกอบรมกึ่งปฏิบัติการนักวิจัยระดับปริญญาเอกจึงเกิดขึ้น
เพื่อเติมเต็มหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิตทั้งหลาย
โดยมุ่งเน้นให้นักวิจัยที่เข้าอบรมมีหัวข้อการวิจัยในระดับปริญญาเอกเป็นของตนเอง สามารถทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
สามารถสร้างเครื่องมือการวิจัยได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทุกมาตรวัดอย่างมีหลักวิชาการทางสถิติ สามารถสร้างตัวแบบจากสมการทางคณิตศาสตร์ และสามารถสร้างตัวแบบทางสังคมศาสตร์ เพื่อการอธิบายที่เข้าใจง่ายสำหรับปุถุชนทั่วไป